วันจันทร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

ชื่อไวรัสบอกอะไรได้บ้าง

เคยสงสัยกันบ้างไหมว่าชื่อของไวรัสที่เห็นทั่วไปนั้นมีความหมายว่าอย่างไร ทำไมบริษัทที่พัฒนาโปรแกรมป้องกันไวรัสจึงตั้งชื่อแตกต่างกันไป ทั้งๆ ที่ไวรัสที่ค้นพบนั้นเป็นตัวเดียวกัน อย่างไรก็ตามแม้ว่าชื่อจะเขียนไม่เหมือนกันทุกตัวอักษร แต่ความหมายที่แปลได้จากชื่อนั้นเหมือนกัน ตัวอย่างเช่น W32.Klez.h@mm W32/Klez.h@MM WORM_KLEZ.H I-Worm.Klez.h เป็นต้น บทความนี้จะอธิบายถึงส่วนต่างๆ ของชื่อไวรัส เพื่อทำให้ผู้อ่านสามารถจำแนกแยกแยะประเภทของไวรัสจากชื่อของไวรัส ความสามารถเด่นๆ ตลอดจนวิธีการแพร่กระจายตัวของไวรัสได้
ส่วนประกอบของชื่อไวรัสนั้นแบ่งได้เป็นส่วนๆ ดังนี้

ภาพแสดงส่วนประกอบต่างๆของไวรัส

1. ส่วนแรกแสดงชื่อตระกูลของไวรัส (Family_Names) ส่วนใหญ่จะตั้งตามชนิดของปัญหาที่ไวรัสก่อขึ้น หรือภาษาที่ใช้ในการพัฒนา เช่น เป็นม้าโทรจัน ถูกพัฒนาด้วย Visual Basic scripts หรือเป็นไวรัสที่รันบนระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 32 บิต เป็นต้น ซึ่งชื่อของตระกูลของไวรัสที่ค้นพบในปัจจุบัน

แสดงรายชื่อตระกูลของไวรัส

WM ไวรัสที่เป็นมาโครของโปรแกรม

Word W97M ไวรัสที่เป็นมาโครของโปรแกรม Word 97

XM ไวรัสที่เป็นมาโครของโปรแกรม Excel

X97M ไวรัสที่เป็นมาโครของโปรแกรม Excel 97

W95 ไวรัสที่มีผลกระทบกับระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 95

W32/Win32 ไวรัสที่มีผลกระทบกับระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 32 บิต

WNT ไวรัสที่มีผลกระทบกับระบบปฏิบัติการวินโดวส์ NT 32 บิต

I-Worm/Worm หนอนอินเทอร์เน็ต

Trojan/Troj ม้าโทรจัน

VBS ไวรัสที่ถูกพัฒนาด้วย Visual Basic Script

AOL ม้าโทรจัน America Online

PWSTEAL ม้าโทรจันที่มีความสามารถในการขโมยรหัสผ่าน

Java ไวรัสที่ถูกพัฒนาด้วยภาษาจาวา

Linux ไวรัสที่มีผลกระทบกับระบบปฏิบัติการลินุกซ์

Palm ไวรัสที่มีผลกระทบกับระบบปฏิบัติการ Palm OS

Backdoor เปิดช่องให้ผู้บุกรุกเข้าถึงเครื่องได้

HILLW บ่งบอกว่าไวรัสถูกคอมไพล์ด้วยภาษาระดับสูง

2. ส่วนชื่อของไวรัส (Group_Name) เป็นชื่อดั้งเดิมที่ผู้เขียนไวรัสเป็นคนตั้ง โดยปกติจะถูกแทรกไว้อยู่ในโค้ดของไวรัส และในส่วนนี้เองจะเอามาเรียกชื่อไวรัสเปรียบเสมือนเรียกชื่อเล่น ตัวอย่างเช่น ชื่อของไวรัสคือ W32.Klez.h@mm และจะถูกเรียกว่า Klez.h เพื่อให้สั้นและกระชับขึ้น

3. ส่วนของ Variant รายละเอียดส่วนนี้จะบอกว่าสายพันธุ์ของไวรัสชนิดนั้นๆ มีการปรับปรุงสายพันธุ์จนมีความสามารถต่างจากสายพันธุ์เดิมที่มีอยู่ variant มี 2 ลักษณะคือ

Major_Variants จะตามหลังส่วนชื่อของไวรัส เพื่อบ่งบอกว่ามีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน เช่นหนอนชื่อ VBS.LoveLetter.A (A เป็น Major_Variant) แตกต่างจาก VBS.LoveLetter อย่างชัดเจน

Minor_Variants ใช้บ่งบอกในกรณีที่แตกต่างกันนิดหน่อย ในบางครั้ง Minor_Variant เป็นตัวเลขที่บอกขนาดไฟล์ของไวรัส ตัวอย่างเช่น W32.Funlove.4099 หนอนชนิดนี้มีขนาด 4099 KB.

4. ส่วนท้าย (Tail) เป็นส่วนที่จะบอกว่าวิธีการแพร่กระจาย ประกอบด้วย

@M หรือ @m บอกให้รู้ว่าไวรัสหรือหนอนชนิดนี้เป็น "mailer" ที่จะส่งตัวเองผ่านทางอี-เมล์เมื่อผู้ใช้ส่งอี-เมล์เท่านั้น

@MM หรือ @mm บอกให้รู้ว่าไวรัสหรือหนอนชนิดนี้เป็น "mass-mailer" ที่จะส่งตัวเองผ่านทุกอี-เมล์แอดเดรสที่อยู่ในเมล์บอกซ์ ตัวอย่าง W32.HILLW.Lovgate.C@mm

แสดงว่าอยู่ในตระกูลที่มีผลต่อระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 32 บิต และถูกคอมไพล์ด้วยภาษาระดับสูง

ชื่อของไวรัสคือ Lovgate

ที่มี variant คือ C

มีความสามารถในการแพร่กระจายผ่านทางอี-เมล์โดยส่งไปยังทุกอี-เมล์แอดเดรสที่อยู่ในเมล์บอกซ์

จากส่วนประกอบของชื่อไวรัสที่ได้อธิบายไว้ข้างต้น จะเห็นได้ว่าชื่อของไวรัสนั้นสามารถบอกถึงประเภทของไวรัส ชื่อดั้งเดิมของไวรัสที่ผู้เขียนไวรัสเป็นคนตั้ง สายพันธุ์ต่างๆ ของไวรัสที่ถูกพัฒนาต่อไป และวิธีการแพร่กระจายตัวของไวรัสเองด้วย

การตรวจหาไวรัส

การสแกน
โปรแกรมตรวจหาไวรัสที่ใช้วิธีการสแกน (Scanning) เรียกว่า สแกนเนอร์ (Scanner) โดยจะมีการดึงเอาโปรแกรมบางส่วนของตัวไวรัสมาเก็บไว้เป็นฐานข้อมูล ส่วนที่ดึงมานั้นเราเรียกว่า ไวรัสซิกเนเจอร์ (VirusSignature)และเมื่อสแกนเนอร์ถูกเรียกขึ้นมาทำงานก็จะเข้าตรวจหาไวรัสในหน่วยความจำ บูตเซกเตอร์และไฟล์โดยใช้ ไวรัสซิกเนเจอร์ที่มีอยู่
ข้อดีของวิธีการนี้ก็คือ เราสามารถตรวจสอบซอฟแวร์ที่มาใหม่ได้ทันทีเลยว่าติดไวรัสหรือไม่ เพื่อป้องกันไม่ให้ไวรัสถูกเรียกขึ้นมาทำงานตั้งแต่เริ่มแรก แต่วิธีนี้มีจุดอ่อนอยู่หลายข้อ คือ
1. ฐานข้อมูลที่เก็บไวรัสซิกเนเจอร์จะต้องทันสมัยอยู่เสมอ แลครอบคลุมไวรัสทุกตัว มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
2. สแกนเนอร์จะไม่สามารถตรวจจับไวรัสที่ยังไม่มี ซิกเนเจอร์ของไวรัสนั้นเก็บอยู่ในฐานข้อมูลได้
3. ยากที่จะตรวจจับไวรัสประเภทโพลีมอร์ฟิก เนื่องจากไวรัสประเภทนี้เปลี่ยนแปลง ตัวเองได้
4. ไวรัสซิกเนเจอร์ที่ใช้สามารถนำมาตรวจสอบได้ก่อนที่ไวรัส จะเปลี่ยนตัวเองเท่านั้น
5. ถ้ามีไวรัสประเภทสทีลต์ไวรัสติดอยู่ในเครื่องตัวสแกนเนอร์อาจจะไม่สามารถ ตรวจหาไวรัสนี้ได้
6. ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความฉลาดและเทคนิคที่ใช้ของตัวไวรัสและของตัวสแกนเนอร์เองว่าใครเก่งกว่า
7. เนื่องจากไวรัสมีตัวใหม่ ๆ ออกมาอยู่เสมอ ๆ ผู้ใช้จึงจำเป็นจะต้องหาสแกนเนอร์ ตัวที่ใหม่ที่สุดมาใช้
8. มีไวรัสบางตัวจะเข้าไปติดในโปรแกรมทันทีที่โปรแกรมนั้นถูกอ่าน และถ้าสมมติว่าสแกนเนอร์ที่ใช้ไม่สามารถตรวจจับได้ และถ้าเครื่องมีไวรัสนี้ติดอยู่ เมื่อมีการเรียกสแกนเนอร์ขึ้นมาทำงาน สแกนเนอร์จะเข้าไปอ่านโปรแกรมทีละโปรแกรม เพื่อตรวจสอบ ผลก็คือจะทำให้ไวรัสตัวนี้เข้าไปติดอยู่ในโปรแกรมทุกตัวที่ถูก สแกนเนอร์นั้นอ่านได้ สแกนเนอร์รายงานผิดพลาดได้ คือ ไวรัสซิกเนเจอร์ที่ใช้บังเอิญไปตรงกับที่มี อยู่ในโปรแกรมธรรมดาที่ไม่ได้ติดไวรัส ซึ่งมักจะเกิดขึ้นในกรณีที่ไวรัสซิกเนเจอร์ ที่ใช้มีขนาดสั้นไป ก็จะทำให้โปรแกรมดังกล่าวใช้งานไม่ได้อีกต่อไป
การตรวจการเปลี่ยนแปลง
การตรวจการเปลี่ยนแปลง คือ การหาค่าพิเศษอย่างหนึ่งที่เรียกว่า เช็คซัม (Checksum) ซึ่งเกิดจากการนำเอาชุดคำสั่งและ ข้อมูลที่อยู่ในโปรแกรมมาคำนวณ หรืออาจใช้ข้อมูลอื่น ๆ ของไฟล์ ได้แก่ แอตริบิวต์ วันและเวลา เข้ามารวมในการคำนวณด้วย เนื่องจากทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นคำสั่งหรือข้อมูลที่อยู่ในโปรแกรม จะถูกแทนด้วยรหัสเลขฐานสอง เราจึงสามารถนำเอาตัวเลขเหล่านี้มาผ่านขั้นตอนการคำนวณทางคณิตศาสตร์ได้ ซึ่งวิธีการคำนวณเพื่อหาค่าเช็คซัมนี้มีหลายแบบ และมีระดับการตรวจสอบแตกต่างกันออกไป เมื่อตัวโปรแกรม ภายในเกิดการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าไวรัสนั้นจะใช้วิธีการแทรกหรือเขียนทับก็ตาม เลขที่ได้จากการคำนวณครั้งใหม่ จะเปลี่ยนไปจากที่คำนวณได้ก่อนหน้านี้
ข้อดีของการตรวจการเปลี่ยนแปลงก็คือ สามารถตรวจจับไวรัสใหม่ ๆ ได้ และยังมีความสามารถในการตรวจจับไวรัสประเภทโพลีมอร์ฟิกไวรัสได้อีกด้วย แต่ก็ยังยากสำหรับสทีลต์ไวรัส ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความฉลาดของโปรแกรมตรวจหาไวรัสเองด้วยว่าจะสามารถถูกหลอกโดยไวรัสประเภทนี้ได้หรือไม่ และมีวิธีการตรวจการเปลี่ยนแปลงนี้จะตรวจจับไวรัสได้ก็ต่อเมื่อไวรัสได้เข้าไปติดอยู่ในเครื่องแล้วเท่านั้น และค่อนข้างเสี่ยงในกรณีที่เริ่มมีการคำนวณหาค่าเช็คซัมเป็นครั้งแรก เครื่องที่ใช้ต้องแน่ใจว่าบริสุทธิ์พอ คือต้องไม่มีโปรแกรมใด ๆ ติดไวรัส มิฉะนั้นค่าที่หาได้จากการคำนวณที่รวมตัวไวรัสเข้าไปด้วย ซึ่งจะลำบากภายหลังในการที่จะตรวจหาไวรัสตัวนี้ต่อไป
การเฝ้าดู
เพื่อที่จะให้โปรแกรมตรวจจับไวรัสสามารถเฝ้าดูการทำงานของเครื่องได้ตลอดเวลานั้น จึงได้มีโปรแกรมตรวจจับไวรัสที่ถูกสร้งขึ้นมาเป็นโปรแกรมแบบเรซิเดนท์หรือ ดีไวซ์ไดรเวอร์ โดยเทคนิคของการเฝ้าดูนั้นอาจใช้วิธีการสแกนหรือตรวจการเปลี่ยนแปลงหรือสองแบบรวมกันก็ได้
การทำงานโดยทั่วไปก็คือ เมื่อซอฟแวร์ตรวจจับไวรัสที่ใช้วิธีนี้ถูกเรียกขึ้นมาทำงานก็จะเข้าไปตรวจในหน่วยความจำของเครื่องก่อนว่ามีไวรัสติดอยู่หรือไม่โดยใช้ไวรัสซิกเนเจอร์ ที่มีอยู่ในฐานข้อมูล จากนั้นจึงค่อยนำตัวเองเข้าไปฝังอยู่ในหน่วยความจำ และต่อไปถ้ามีการเรียกโปรแกรมใดขึ้นมาใช้งาน โปรแกรมเฝ้าดูนี้ก็จะเข้าไปตรวจโปรแกรมนั้นก่อน โดยใช้เทคนิคการสแกนหรือตรวจการเปลี่ยนแปลงเพื่อหาไวรัส ถ้าไม่มีปัญหา ก็จะอนุญาตให้โปรแกรมนั้นขึ้นมาทำงานได้ นอกจากนี้โปรแกรมตรวจจับ ไวรัสบางตัวยังสามารถตรวจสอบขณะที่มีการคัดลอกไฟล์ได้อีกด้วย
ข้อดีของวิธีนี้คือ เมื่อมีการเรียกโปรแกรมใดขึ้นมา โปรแกรมนั้นจะถูกตรวจสอบก่อนทุกครั้งโดยอัตโนมัติ ซึ่งถ้าเป็นการใช้สแกนเนอร์ จะสามารถทราบได้ว่าโปรแกรมใดติดไวรัสอยู่ ก็ต่อเมื่อทำการเรียกสแกนเนอร์นั้นขึ้นมาทำงานก่อนเท่านั้น
ข้อเสียของโปรแกรมตรวจจับไวรัสแบบเฝ้าดูก็คือ จะมีเวลาที่เสียไปสำหรับการตรวจหาไวรัสก่อนทุกครั้ง และเนื่องจากเป็นโปรแกรมแบบเรซิเดนท์หรือดีไวซ์ไดรเวอร์ จึงจำเป็นจะต้องใช้หน่วยความจำส่วนหนึ่งของเครื่องตลอดเวลาเพื่อทำงาน ทำให้หน่วยความจำในเครื่องเหลือน้อยลง และเช่นเดียวกับสแกนเนอร์ ก็คือ จำเป็นจะต้องมีการปรับปรุง ฐานข้อมูลของไวรัสซิกเนเจอร์ให้ทันสมัยอยู่เสมอ
คำแนะนำและการป้องกันไวรัส
· สำรองไฟล์ข้อมูลที่สำคัญ
· สำหรับเครื่องที่มีฮาร์ดดิสก์ อย่าเรียกดอสจากฟลอปปีดิสก์
· ป้องกันการเขียนให้กับฟลอปปีดิสก์
· อย่าเรียกโปรแกรมที่ติดมากับดิสก์อื่น
· เสาะหาโปรแกรมตรวจหาไวรัสที่ใหม่และมากกว่าหนึ่งโปรแกรมจากคนละบริษัท
· เรียกใช้โปรแกรมตรวจหาไวรัสเป็นช่วง ๆ
· เรียกใช้โปรแกรมตรวจจับไวรัสแบบเฝ้าดูทุกครั้ง
· เลือกคัดลอกซอฟแวร์เฉพาะที่ถูกตรวจสอบแล้วในบีบีเอส
· สำรองข้อมูลที่สำคัญของฮาร์ดดิสก์ไปเก็บในฟลอปปีดิสก์
· เตรียมฟลอปปีดิสก์ที่ไว้สำหรับให้เรียกดอสขึ้นมาทำงานได้
· เมื่อเครื่องติดไวรัส ให้พยายามหาที่มาของไวรัสนั้น
การกำจัดไวรัส
เมื่อแน่ใจว่าเครื่องติดไวรัสแล้ว ให้ทำการแก้ไขด้วยความใคร่ครวญและระมัดระวังอย่างมาก เพราะบางครั้งตัวคนแก้เองจะเป็นตัวทำลายมากกว่าตัวไวรัสจริง ๆ เสียอีก การฟอร์แมตฮาร์ดดิสก์ใหม่อีกครั้งก็ไม่ใช่ วิธีที่ดีที่สุดเสมอไป ยิ่งแย่ไปกว่านั้นถ้าทำไปโดยยังไม่ได้มีการสำรองข้อมูลขึ้นมาก่อน การแก้ไขนั้นถ้าผู้ใช้มีความรู้เกี่ยวกับไวรัสที่ กำลังติดอยู่ว่าเป็นประเภทใดก็จะช่วยได้อย่างมาก และข้อเสนอแนะต่อไปนี้อาจจะมีประโยชน์ต่อท่าน
บูตเครื่องใหม่ทันทีที่ทราบว่าเครื่องติดไวรัส
เมื่อทราบว่าเครื่องติดไวรัส ให้ทำการบูตเครื่องใหม่ทันที โดยเรียกดอสขึ้นมาทำงานจากฟลอปปีดิสก์ที่ได้เตรียมไว้ เพราะถ้าไปเรียกดอสจากฮาร์ดดิสก์ เป็นไปได้ว่า ตัวไวรัสอาจกลับเข้าไปในหน่วยความจำได้อีก เมื่อเสร็จขั้นตอนการเรียกดอสแล้ว ห้ามเรียกโปรแกรมใด ๆ ก็ตามในดิสก์ที่ติดไวรัส เพราะไม่ทราบว่าโปรแกรมใดบ้างที่มีไวรัสติดอยู่
เรียกโปรแกรมจัดการไวรัสขั้นมาตรวจหาและทำลาย
ให้เรียกโปรแกรมตรวจจับไวรัส เพื่อตรวจสอบดูว่ามีโปรแกรมใดบ้างติดไวรัส ถ้าโปรแกรมตรวจ หาไวรัสที่ใช้อยู่สามารถกำจัดไวรัสตัวที่พบได้ ก็ให้ลองทำดู แต่ก่อนหน้านี้ให้ทำการคัดลอกเพื่อสำรองโปรแกรมที่ติดไวรัสไปเสียก่อน โดยโปรแกรมจัดการไวรัสบางโปรแกรมสามารถสั่งให้ทำสำรองโปรแกรมที่ติดไวรัสไปเป็นอีกชื่อหนึ่งก่อนที่จะกำจัดไวรัส เช่น MSAV ของดอสเอง เป็นต้น
การสำรองข้อมูล ที่ต้องทำเผื่อว่า เมื่อไวรัสถูกกำจัดออกจากโปรแกรมไป โปรแกรมนั้นอาจไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ หรือทำงานไม่ได้เลยก็เป็นไปได้ วิธีการตรวจขั้นต้นคือ ให้ลอง เปรียบเทียบขนาดของโปรแกรมหลังจากที่ถูกกำจัดไวรัสไปแล้วกับขนาดเดิม ถ้ามีขนาดน้อยกว่า แสดงว่าไม่สำเร็จ หากเป็นเช่นนั้นให้เอาโปรแกรมที่ติดไวรัสที่สำรองไว้ แล้วหาโปรแกรมจัดการ ไวรัสตัวอื่นมาใช้แทน แต่ถ้ามีขนาดมากกว่าหรือเท่ากับของเดิม เป็นไปได้ว่าการกำจัดไวรัสอาจสำเร็จ โดยอาจลองเรียกโปรแกรมตรวจหาไวรัสเพื่อทดสอบโปรแกรมอีกครั้ง
หากผลการตรวจสอบออกมาว่าปลอดเชื้อ ก็ให้ลองเรียกโปรแกรมที่ถูกกำจัดไวรัสไปนั้นขึ้นมาทดสอบการทำงานดูอย่างละเอียดว่าเป็นปกติดีอยู่หรือไม่อีกครั้ง ในช่วงดังกล่าวควรเก็บโปรแกรมนี้ที่สำรองไปขณะที่ติดไวรัสอยู่ไว้ เผื่อว่าภายหลังพบว่าโปรแกรมทำงานไม่เป็นไปตามปกติ ก็สามารถลองเรียกโปรแกรมจัดการไวรัสตัวอื่นขึ้นมากำจัดต่อไปได้ในภายหลัง แต่ถ้าแน่ใจว่าโปรแกรมทำงานเป็นปกติดี ก็ทำการลบโปรแกรมสำรองที่ยังติดไวรัสติดอยู่ทิ้งไปทันที เป็นการป้องกันไม่ให้มีการเรียกขึ้นมาใช้งานภายหลังเพราะความบังเอิญได้

เนื่องจากจะมีไวรัสใหม่ๆ เกิดขึ้นทุกวัน และนับวันจะยิ่งมีจำนวนมากขึ้น ในขณะที่มีเทคนิคการทำงานที่ซับซ้อนขึ้น สามารถแพร่ระบาดได้เร็วขึ้น และที่สำคัญแก้ไขหรือฆ่าได้ยากขึ้น ดังนั้นวิธีการที่ดีทีสุดในการป้องกันปัญหาไวรัสคอมพิวเตอร์ คือ ให้ติดตั้งโปรแกรมแอนตี้ไวรัสแล้วทำการอัพเดทไวรัสซิกเนเจอร์อย่างสม่ำเสมอ และให้ทำการสแกนไวรัสเป็นประจำ โดยโปรแกรมแอนตี้ไวรัสนั้นมีให้เลือกใช้งานมากมายหลายตัวทั้งแบบ Freeware และ Commercial
โปรแกรมแอนตี้ไวรัสและแหล่งดาวห์โหลด
Free AntiVirus Software
AVG Free EditionAVG Anti-Virus Free Edition 7.5.516 ดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ http://free.grisoft.com/doc/5390/us/frt/0?prd=aff
Anti-Spyware Free Edition 7.5 ดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ http://free.grisoft.com/doc/5390/us/frt/0?prd=asf
AVG Anti-Rootkit Free 1.1.0.42 ดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ http://free.grisoft.com/doc/5390/us/frt/0?prd=arw
Avast Home Edition
Avast Home Edition 4.7.1098 ดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ Avast Download list หรือ Avast Home Edition 4.7.1098 (English)
Avira AntiVir PersonalEdition Classic
Avira AntiVir PE v7.06 ดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ http://dl5.avgate.net/down/windows/antivir_workstation_win7u_en_h.exe
Comodo AntiVirus
Comodo AntiVirus ดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ http://antivirus.comodo.com/download.html
BitDefender Free Edition
BitDefender Free Edition 10 ดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ http://www.bitdefender.com/site/Downloads/browseEvaluationVersion/1/42/
ClamWin Free Antivirus
ClamWin Free Antivirus 0.91.2 ดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ http://www.clamwin.com/content/view/18/46/
PC Tools AntiVirus Free Edition
PC Tools AntiVirus Free Edition 3.6 ดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ http://www.pctools.com/mirror/avbeta.exe
Evaluation Software
ESET(NOD32) Products http://www.eset.com/download/free_trial_download.php หรือเว็บไซต์ ESET Thailand http://www.nod32th.com/content/view/34/289/lang,en/
Kaspersky Products http://www.kaspersky.com/trials
McAfee Security Products http://download.mcafee.com/eval/evaluate2.asp
Norman Antivirus Products http://www.norman.com/Download/Trial_versions/en-us
Norton from Symantec Products http://www.symantec.com/norton/downloads/index.jsp
Panda Security Products http://www.pandasecurity.com/homeusers/downloads/evaluation/
Sophos Products (Small Business) http://www.sophos.com/products/small-business/eval.html

อาการของเครื่องที่ติดไวรัส

อาการของเครื่องที่ติดไวรัสโดยทั่วไป

สามารถสังเกตุการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ถ้ามีอาการดังต่อไปนี้อาจเป็นไปได้ว่าได้มีไวรัสเข้าไปติดอยู่ในเครื่องแล้ว อาการที่ว่านั้นได้แก่
- ใช้เวลานานผิดปกติในการเรียกโปรแกรมขึ้นมาทำงาน
- ขนาดของโปรแกรมใหญ่ขึ้น
- วันเวลาของโปรแกรมเปลี่ยนไป
- ข้อความที่ปกติไม่ค่อยได้เห็นกลับถูกแสดงขึ้นมาบ่อย ๆ
- เกิดอักษรหรือข้อความประหลาดบนหน้าจอ
- เครื่องส่งเสียงออกทางลำโพงโดยไม่ได้เกิดจากโปรแกรมที่ใช้อยู่
- แป้นพิมพ์ทำงานผิดปกติหรือไม่ทำงานเลย
- ขนาดของหน่วยความจำที่เหลือลดน้อยกว่าปกติ โดยหาเหตุผลไม่ได้
- ไฟล์แสดงสถานะการทำงานของดิสก์ติดค้างนานกว่าที่เคยเป็น
- ไฟล์ข้อมูลหรือโปรแกรมที่เคยใช้อยู่ ๆ ก็หายไป
- เครื่องทำงานช้าลง
- เครื่องบูตตัวเองโดยไม่ได้สั่ง
- ระบบหยุดทำงานโดยไม่ทราบสาเหตุ
- เซกเตอร์ที่เสียมีจำนวนเพิ่มขึ้นโดยมีการรายงานว่าจำนวนเซกเตอร์ที่เสียมีจำนวน เพิ่มขึ้นกว่าแต่ก่อนโดยที่ยังไม่ได้ใช้โปรแกรมใดเข้าไปตรวจหาเลย
ชื่อไวรัสและอาการหลังจากติดไวรัสที่พบได้บ่อย
MSN-pic.zip (Win32/Delf.ADS trojan)
ไวรัสตัวนี้แพร่กระจายตัวเองผ่านทาง MSN ทันทีที่มันติดเชื้อเครื่องของเหยื่อแล้ว ไวรัสจะสร้างไฟล์ pic.zip ซึ่งในไฟล์สกุล zip จะมีไฟล์ ชื่อ IMG34814.pif ซึ่งคือเวิร์ม(ไม่ได้บีบอัดไฟล์)ลงในโฟลเดอร์ของระบบและจะส่งไฟล์ไวรัสนี้ ไปยังรายชื่อผู้ติดต่อที่อยู่ใน MSN โดยอาศัยเทคนิคลากแล้ววาง เหมือนผู้ใช้ส่งไฟล์ทั่วไป ชื่อที่ใช้ส่ง คือ pic.zip มีข้อความดังนี้
"Hey :-), I just took this picture, sexy isnt it :-P?"
"What do you think of my photo editing skills?"
"Which one do you like in this pic, the black one or the blue one?"
"This is what happens when you eat to many chips :-P"
"Look what i made out of cans!! haah :-P!"
":-p this was halarious at that party a while back"
"Hey I have a new pic, what do ya think?"
"Check this out this pic is so freaking cool"
"Hahahaha, do you remember this picture?"
":-O Check this out! Nearly laughed my ass off!!"
"hey wats up.. have you seen this pic of harry potter?"
ตามด้วยไฟล์ของเวิร์มหากผู้ใช้เลือกดาวน์โหลดไฟล์ดังกล่าวมาและรันก็จะทำให้ติดเวิร์มตัวนี้และจะกลายเป็นฐานในการแพร่กระจายไปยังผู้อื่นๆต่อไป ไฟล์เวิร์มมีขนาด 138KB เวิร์มจะยกเลิกการใช้งาน regedit และปิดระบบรักษาความปลอดภัย (Security Center)จากนั้นจะติดต่อไปยัง down.basecore.info ไอพีแอดเดรส 72.249.12.79 ซึ่งการตรวจสอบเส้นทางบนเครือข่าย ปรากฎตำแหน่งของไอพีแอดเดรสนี้อยู่ใกล้ที่สุดกับรัฐ Dallas ของสหรัฐ เวิร์มติดต่อกลับไปที่พอร์ต 1863/tcp ซึ่งจะเห็นว่ามันคือพอร์ตของ MSN แต่แฮกเกอร์ที่เขียนเวิร์มจงใจจะอำพรางการทำงาน ในความเป็นจริงพอร์ตนี้ถูกนำมาใช้สำหรับบริการ IRC ซึ่ง IRC เซิร์ฟเวอร์ที่ทำงานอยู่บนเครื่องที่เวิร์มตัวนี้ติดต่อกลับไปคือ Unreal 3.2-beta19 ทำงานอยู่บนระบบปฏิบัติการ Windows 2003 เวิร์มจะสุ่ม nick name ขึ้นมา และใช้รหัสผ่าน letmein ในการล็อกอินเข้าใช้งาน เมื่อเวิร์มส่งไฟล์ แล้ว จะรายงานกลับไปยังเซิร์ฟเวอร์ดังกล่าว ว่าได้ส่งไฟล์ไปให้เหยื่อใหม่ไปแล้วกี่รายจากนั้นจะรอคำสั่งจากแฮกเกอร์ เซิร์ฟเวอร์ดังกล่าวยังเปิดพอร์ต 1864/tcpไว้เป็นบริการ IRC เพิ่มเติม พอร์ต 4643/tcp,139/tcp NetBios และ 21/tcp FTP Server เวิร์มลักษณะนี้มีโอกาสที่จะได้รับการพัฒนาการทำงานใหม่ๆได้ตลอดเวลา จากแฮกเกอร์ อย่างไรก็ตามคาดว่าอาจจะมีการขโมยข้อมูลสำคัญๆ ของผู้ใช้ตามมาได้ ในอนาคตเมื่อเวิร์มตัวนี้ติดเชื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ได้มาก เช่น รหัสผ่าน หมายเลขบัตรเครดิตรวมไปถึงข้อมูลส่วนบุคคล เนื่องจากตรวจพบการพยายามของเวิร์มที่จะดาวน์โหลดไฟล์จากอินเตอร์เน็ตและรันไฟล์ดังกล่าวบนเครื่องเหยื่อ ซึ่งคำสั่งดังกล่าวนี้แฮกเกอร์สามารถควบคุมผ่านทาง IRC เซิร์ฟเวอร์ได้
jomke.dll.vbs
ไวรัสจะคัดลอกตังเองลงในทุกๆไดร์ฟบนเครื่อง ชื่อไฟล์ไวรัสคือ jomke.dll.vbs และแก้ไขค่าในรีจิสทรีเพื่อสร้างค่าขยะ ทำให้หน้าแรกของ Internet Explorer แสดงเว็บเพจจาก "http://www.anonym.to/?http://student.srru.ac.th/~48122420102/jomke" และแก้ไขไตเติลบาร์ของ Internet Explorer เป็น "Hacked by Godzilla version 2.0"ไวรัสพยายามแพร่กระจายตัวผ่านทางแฮนดี้ไดร์ฟและการแชร์ไดร์ฟในเครือข่าย พยายามจะทำให้เครื่องปิดลงทุกครั้งหลังจากที่เปิดใช้งานโดยหน่วงเวลาไว้ที่ 50 วินาที
achi.dll.vbs
ไวรัสถูกเขียนโดยใช้ Visual Basic Script ไวรัสจะคัดลอกตังเองลงในทุกๆไดร์ฟบนเครื่อง ชื่อไฟล์ไวรัสคือ achi.dll.vbs จะสร้างไฟล์ achi.htm และแก้ไขค่าในรีจิสทรีเพื่อทำให้หน้าแรกของ Internet Explorer แสดงข้อความในไฟล์ดังกล่าว ไวรัสแพร่กระจายตัวผ่านทางแฮนดี้ไดร์ฟ ได้รับการดัดแปลงมาจากไวรัสตระกูล vbs รุ่นแรกๆ อย่างไรก็ตามไวรัสไม่ได้สร้างความเสียหายแก่เครื่องที่ติดเชื้อ
happy.vbs
ไวรัสถูกเขียนโดยใช้ Visual Basic Script ไวรัสจะคัดลอกตังเองลงในทุกๆไดร์ฟบนเครื่อง โดยจะสร้างไฟล์ autorun พร้อมคัดลอกไฟล์ไวรัส happy.vbs ไปด้วย ไวรัสจะยกเลิกการใช้งาน regedit.exe ซ่อนไอคอน My Computer ทำให้ไม่สามารถใช้ My Computer เนื่องจากจะมองไม่เห็นไดร์ฟ ยกเลิกสิทธิ์ในการเข้าถึงแชร์โฟลเดอร์ของผู้ดูแลระบบ ไวรัสจะแก้ไขไตเติลบาร์ของ Internet Explorer เป็น ORIGINAL SILLE.B run on GAME ONLINE และตั้งค่าหน้าแรกไปที่ http://www.anonym.to/?http://www.sille.net/gamesonline.htm และแสดงกล่องข้อความ "VIRUS SILLE RUN ON GAMES ONLINE"
killVBS.vbs
ไวรัสถูกเขียนโดยใช้ Visual Basic Script ไวรัสตัวนี้แพร่กระจายผ่านทางแฮนดี้ไดร์ฟ โดยจะสร้างไฟล์ autorun ลงบนแฮนดี้ไดร์ฟ พร้อมคัดลอกไฟล์ไวรัส killVBS.vbs ไปด้วย ไวรัสจะไม่แพร่กระจายตัวเองทางการแชร์ไฟล์ในเครือข่ายเหมือนกับไวรัสตระกูลเดียวกันที่เคยทำ เพื่อทำให้ผู้ใช้ตรวจพบยากขึ้น ไวรัสจะแก้ไขไตเติลบาร์ของ Internet Explorer และหน้าแรกเป็นค่าว่างเปล่า
HELLO WORLD i am VB
ไวรัสถูกเขียนโดยใช้ Visual Basic Script ไวรัสตัวนี้แพร่กระจายผ่านทางแฮนดี้ไดร์ฟ โดยจะสร้างไฟล์ autorun ลงบนทุกๆไดร์ฟ พร้อมคัดลอกไฟล์ไวรัส RUNDLL64.dll.vbs ไปด้วย ไวรัสจะแก้ไขไตเติลบาร์ของ Internet Explorer เป็น HELLO WORLD i am VB นอกจากนี้ไวรัสจะทำการซ่อนแทบ All Programs ใน Start Menu ทำให้เกิดความไม่สะดวกในการเรียกใช้งานโปรแกรมต่างๆผ่านทาง Start Menu รวมไปถึงการยกเลิกการใช้งาน Windows Task Manager ซึ่งทำให้ผู้ใช้ไม่สามารถจัดการกับโปร
เซสบนเครื่องได้
^_^Anti AntiVirus^_^ (Win32/Wenna.E worm)
ไวรัสถูกเขียนโดยใช้ Borland Delphi เชื่อว่าคนที่เขียนไวรัสตัวนี้ คือคนๆเดียวกับที่เขียนไวรัส data.exe เนื่องจากพบโค้ดที่เป็นของไวรัส data.exe ปรากฏอยู่ ไวรัสตัวนี้จะทำการแก้ไข Windows Title ให้เป็น ^_^Anti AntiVirus^_^ ตลอดเวลา สามารถติดเชื้อแฮนดี้ไดร์ฟโดยใช้ไฟล์ auto run ไวรัสจะแก้ไขค่าในรีจิสทรีที่เกี่ยวกับไฟล์นามสกุล exe ให้ไวรัสเป็นผู้จัดการแทนระบบปฏิบัติการ ด้วยเหตุนี้อาจทำให้เปิดไฟล์ exe ไม่ได้ ไวรัสจะยกเลิกฟังก์ชั่นที่เกี่ยวกับการแก้ไขปรับแต่งระบบปฏิบัติการ
Hacked by 8BITS (VBS/Butsur.C worm)
ไวรัสตัวนี้แพร่กระจายผ่านทางแฮนดี้ไดร์ฟ ไวรัสถูกเขียนโดยใช้ Visual Basic Script โดยจะสร้างไฟล์ autorun ลงบนทุกๆไดร์ฟ พร้อมคัดลอกไฟล์ไวรัส kernel32.dll.vbs ไปด้วย ไวรัสจะแก้ไขไตเติลบาร์ของ IE เป็น Hacked by 8BITS ในโค๊ดไวรัสมีคำสั่งที่เรียกใช้โปรแกรมที่ใช้ในการควบคุมเปิดปิดเครื่องของระบบปฏิบัติการ ดังนั้นเครื่องที่ติดเชื้อมีโอกาสปิดลง โดยไม่มีการแจ้งเตือน
Data.exe (Win32.Worm.Tellsky)
ไวรัสตัวนี้ ติดเชื้อเครื่องผ่านทางแฮนดี้ไดร์ฟ จะทำการเขียนแก้ไขค่าในรีจีสทรีที่ระบบปฏิบัติการใช้รัน MSN Messenger ในตอนเริ่มบูตเครื่องด้วยวิธีนี้ทำให้ไวรัสถูกเรียกขึ้นมาทำงานทุกครั้งที่ เปิดเครื่อง ในไฟล์ไวรัสปรากฏโค้ดที่พยายามติดต่อกับ http://www.anonym.to/?http://www.Atom-Soft.com ผ่านทาง http และ ftp เชื่อว่ามีการเขียนขึ้นมา 3 รุ่น ไวรัสจะแพร่กระจายตัวเองไปทุกๆไดร์ฟและโฟลเดอร์ โดยอาศัยช่วงเวลาที่ผู้ใช้ทำงานในโฟลเดอร์นั้น ทำการเลียนแบบชื่อโฟลเดอร์ แล้วคัดลอกตัวเองเป็นไฟล์นามสกุล exe มีขนาด 213 KB,221KB และ 224 KB ยกเว้นโฟลเดอร์ program files และ desktop ไวรัสจะไม่ติดเชื้อ ไวรัสอาจ overwrite ไฟล์ exe บนเครื่องได้ เมื่อชื่อโฟลเดอร์ที่เก็บไฟล์ เป็นชื่อเดียวกับไฟล์ ซึ่งจะทำให้ไฟล์สูญหายไป นอกจากนี้ไวรัสตัวนี้มีฟังก์ชั่นในการทำลายข้อมูลบนฮาร์ดดิสด้วย
.MS32DLL.dll.vbs (VBS/Pica.NAA virus)
ไวรัสตัวนี้เชื่อว่ามาจากการดัดแปลงไฟล์ไวรัสต้นแบบที่ชื่อ VBS.Godzilla ไวรัสตัวนี้กระจายตัวผ่านทาง
แฮนดี้ไดร์ฟ แล้วจะสร้างไฟล์ auto run ลงในทุกๆไดร์ฟบนเครื่องเหยื่อโดยจะใช้ชื่อไฟล์เป็น .MS32DLL.dll.vbs เมื่อผู้ใช้ดับเบิลคลิกจะเรียกไวรัสขึ้นมาทำงาน ไวรัสพยายามซ่อนตัวเองโดยการปรับแต่งรีจิสทรีและการเปลี่ยนสกุลไฟล์ไวรัสเป็น boot.ini เพื่อหลบซ่อนในระบบด้วย ดาวน์โหลด
Toy.exe (Win32/Agent.WJ trojan)
ไวรัสตัวนี้เริ่มแพร่ระบาดมานานแล้ว โปรแกรมแอนตี้ไวรัสที่อัพเดตสามารถตรวจจับมันได้เกือบทั้งหมด แต่ก็ยังพบปัญหาในการกำจัด ไวรัสติดเชื้อแฮนดี้ไดร์ฟโดยใช้เทคนิค auto run ตัวแก้นี้จะทำการแก้ไขไวรัสแบบสมบูรณ์ ไวรัสตัวนี้ไม่ได้ทำลายข้อมูล เพียงแต่ก่อกวน โดยสังเกตที่หน้าจอในตอนที่ล็อคออนเข้าใช้งาน จะมีข้อความเกี่ยวกับการสร้างโลกของพระเจ้า หรือรู้จักไวรัสตัวนี้กันดีในชื่อไวรัสภาษาจีน
music.exe (Win32/VB.NIV worm)
ไวรัสตัวนี้รู้จักกันดีในชื่อ music.exe ติดเชื้อผ่านทางแฮนดี้ไดร์ฟโดยเทคนิค auto run ไวรัสถูกเขียนโดยใช้ภาษา Visual Basic จะทำการลบไฟล์ นามสกุล *.mp3 และ *.dat ทุกไฟล์ที่พบบนเครื่อง ไวรัสพยายามใช้คำสั่งที่มีวิธีการเหมือนผู้ใช้ทำปกติ แทนที่การเขียนโค้ดโดยตรงเพื่อหลบการวิเคราะห์ไฟล์ของโปรแกรมแอนติไวรัส ไวรัสทำการคัดลอกตัวเองโดยใช้ชื่อโฟลเดอร์ที่พบ มีนามสกุลเป็น *.exe ตลอดเวลาทำให้เครื่องประมวลผลงานอื่นๆช้าลง แต่ไม่พบฟังก์ชั่นที่เปิดทางให้แฮ็กเกอร์ควบคุม คาดว่าไวรัสตัวนี้ถูกเขียนมาเพื่อทำลายข้อมูล สร้างความเสียหายโดยเฉพาะ
iexp1ore.exe (Win32/Agent.P worm)
ไวรัสตัวนี้ติดต่อผ่านทางแฮนดี้ไดร์ฟ โดยใช้วิธี auto runเมื่อผู้ใช้ดับเบิลคลิกเข้าใช้งานในเครื่องที่ฟังก์ชั่นเล่นอัตโนมัติทำงานอยู่ไวรัสจะติด เข้าสู่เครื่องทันที ไวรัสจะคัดลอกตัวเองไปในโฟลเดอร์โปรแกรม Internet Explorerโดยพยายามทำตัวเองเป็นเสมือนโปรแกรม Internet Explorer ทำการแก้ไขทางลัดทุกทางที่จะเรียกใช้โปรแกรมให้ชี้ไปที่ไวรัสแทน โปรเซสของไวรัสมีชื่อว่า iexp1ore.exe โดยไวรัสจะไม่สร้างความ ผิดปกติใดๆบนเครื่องที่ติดเชื้อทำให้ผู้ใช้ที่ไม่สังเกต ไม่สามารถตรวจพบได้
sxs.exe (Win32/PSW.QQRob trojan)
โปรแกรมนี้จะกำจัดไวรัส sxs.exe ในแฮนดี้ไดร์ฟและบนเครื่องที่ติดเชื้อ ซึ่งไวรัสตัวนี้จะสร้างไฟล์ auto run ลงในทุกๆไดร์ฟเพื่อเรียก ตัวเองขึ้นทำงานทุกครั้งที่มีการดับเบิลคลิกที่ไดร์ฟนั้นๆ ไวรัสจะทำการปรับแต่งเครื่องเหยื่อโดยใช้โปรแกรม net.exe และ sc.exe ยังไม่ แน่ใจว่ามันทำอะไรเพราะผู้เขียนไวรัสได้เข้ารหัสไฟล์ไว้ทำให้ยากต่อการทำความเข้าใจโค้ดในไฟล์ไวรัส อาการเครื่องที่ติดก็คือจะดับเบิล คลิกเปิดเข้าไดร์ฟต่างๆไม่ได้ แต่สามารถเข้า ใช้งานไดร์ฟ C:ได้ การกำจัดสามารถเชื่อมต่อแฮนดี้ไดร์ฟที่ต้องสงสัยเข้ากับเครื่องแล้วรันตัว แก้เพื่อกำจัดไวรัสบนเครื่องและในแฮนดี้ไดร์ฟพร้อมๆกันได้
Monaliza
ไวรัสตัวนี้ติดผ่านทางแฮนดี้ไดร์ฟได้ นอกจากนี้ยังสามารถติดเชื้อผู้ใช้ผ่านทาง msn เป็นไวรัสที่เริ่มแพร่กระจายมาสักระยะหนึ่งแล้วโดยจะ ใช้เทคนิค auto run สำหรับการติดเชื้อแฮนดี้ไดร์ฟตามเคย โปรแกรมนี้จะทำการคืนค่าที่ไวรัสทำไว้ทั้งหมด ผู้ใช้สามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ แฮนดี้ไดร์ฟเข้ากับเครื่อง เพื่อกำจัดไวรัสที่อยู่ในอุปกรณ์ได้พร้อมๆกัน
คลิปVDO.exe (Win32/Agent.NAG worm)
ไวรัสตัวนี้ความรุนแรงของมันไม่มากแต่ก็เป็นโปรแกรมที่มีความสามารถในการแพร่กระจายตัวเองจากเครื่องหนึ่งไปอีกเครื่องหนึ่งโดย จะสร้างไฟล์ คลิปVDO.exe ลงบนทุกๆไดร์ฟโดยทำไอคอนของมันเป็นแบบ Folder สร้างความรำคาญแก่ผู้ใช้
Hacked By Godzilla (VBS/Butsur.B worm)
โปรแกรมนี้จะทำการกำจัดไวรัสที่แก้ไขไตเติลบาร์ของ IE เป็น "Hacked By Godzilla" ออกจากเครื่องที่ติดเชื้อพร้อมทั้งกำจัด ไวรัสที่อยู่ในแฮนดี้ไดร์ฟด้วยดังนั้นผู้ใช้สามารถรันโปรแกรมนี้เพื่อกำจัดมันได้ในครั้งเดียว ทำให้สะดวกมากยิ่งขึ้น โชคไม่ดีที่ไวรัสประเภทนี้ สามารถเขียนขึ้นได้อย่างง่ายดาย ซึ่งไวรัสตัวนี้กระจายตัวผ่านทางแฮนดี้ไดร์ฟแล้วจะสร้างไฟล์ auto run ลงในทุกๆไดร์ฟบนเครื่องเหยื่อ ทำให้ เมื่อผู้ใช้ดับเบิลคลิกจะเรียกไวรัสขึ้นมาทำงาน
AdobeR.exe (Win32/RJump.B worm)
โปรแกรมนี้จะกำจัดไวรัส AdobeR ในแฮนดี้ไดร์ฟ ซึ่งไวรัสตัวนี้จะสร้างไฟล์ auto run เพื่อใช้ในการรันตัวมันเองเข้าสู่ระบบดังนั้นเวลา ที่ผู้ใช้ทำการดับเบิลคลิกไดร์ฟ เพื่อเข้าใช้งาน จะทำให้ไวรัสถูกเรียกขึ้นมาทำงาน จากการทดลองพบว่าไวรัสตัวนี้อาจเขียนขึ้นอย่างเร่ง รีบเนื่องจากพบข้อผิดพลาดในระหว่างการทำงาน อย่างไรก็ตามยังพบการแพร่กระจายอยู่ โปรแกรมนี้จะทำการลบไฟล์ที่ไวรัสสร้างขึ้น เพื่อใช้ในการทำงานของมันทั้งหมด ด้วยวิธีนี้จะทำให้อุปกรณ์ของผู้ใช้สามารถใช้งานได้ตามปกติ โดยข้อมูลทั้งหมดยังคงอยู่ไม่สูญหาย
Flashy.exe (Win32/Disabler.I trojan)
โปรแกรมนี้ใช้กำจัดไวรัส Flashy.exe ซึ่งไวรัสตัวนี้จะเปิดบริการ telnet ซึ่งส่งผลให้ผู้ไม่หวังดีควบคุมเครื่องของเหยื่อจากระยะไกล ไวรัสจะคัดลอกตัวเองลงแฮนดี้ไดร์ฟตลอดเวลาและซ่อนโฟลเดอร์จริงจากนั้นจะทำตัวเองเลียนแบบโฟลเดอร์เพื่อให้เหยื่อรันตัวมันเข้าสู่ ระบบโปรแกรมนี้จะดำเนินการแก้ไขค่าทุกอย่างให้เหมือนเดิมทุกประการรวมทั้งถอดรหัสของ administrator ให้ว่างเปล่า รวมทั้งกำจัด ไวรัส Flashy.exe ในแฮนดี้ไดร์ฟและแสดงโฟลเดอร์จริงขึ้นมาด้วย

ประเภทของไวรัสคอมพิวเตอร์และขั้นตอนการทำงานของไวรัส

คำนิยามของ ไวรัสคอมพิวเตอร์ (Virus Computer) คือ โปรแกรมที่มีความสามารถในการพาตัวเองเข้าไปแทรกอยู่ในโปรแกรมทั่วไปที่เป็นเป้าหมายของตนเอง และเพิ่มเติมข้อมูลของตนเองเข้าไปเพื่อจุดประสงของผู้สร้างมันขึ้นมา และพร้อมที่จะแพร่ตัวเองตลอดเวลา ประเภทของไวรัสคอมพิวเตอร์ จะแบ่งออกได้เป็น 11 ประเภทใหญ่ๆคือ

1.บูตเซกเตอร์ไวรัสหรือบูตอินเฟคเตอร์ไวรัส (Boot Sector Viruses หรือ Boot Infector Viruses)


บูตเซกเตอร์ไวรัสหรือบูตอินเฟคเตอร์ไวรัส คือไวรัสที่เก็บตัวเองอยู่ในบูตเซกเตอร์ ของดิสก์ การใช้งานของบูตเซกเตอร์คือ เมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์เริ่มทำงานขึ้นมาตอนแรก เครื่อง จะเข้าไปอ่านบูตเซกเตอร์ โดยในบูตเซกเตอร์จะมีโปรแกรมเล็ก ๆ ไว้ใช้ในการเรียกระบบ ปฎิบัติการขึ้นมาทำงานอีกทีหนึ่ง บูตเซกเตอร์ไวรัสจะเข้าไปแทนที่โปรแกรมดังกล่าว และไวรัส ประเภทนี้ถ้าไปติดอยู่ในฮาร์ดดิสก์ โดยทั่วไป จะเข้าไปอยู่บริเวณที่เรียกว่า Master Boot Sector หรือ Parition Table ของฮาร์ดดิสก์นั้น
ถ้าบูตเซกเตอร์ของดิสก์ใดมีไวรัสประเภทนี้ติดอยู่ทุกๆครั้งที่บูตเครื่องขึ้นมาโดย พยายามเรียก ดอสจากดิสก์นี้ ตัวโปรแกรมไวรัสจะทำงานก่อนและจะเข้าไปฝังตัวอยู่ใน หน่วยความจำเพื่อเตรียมพร้อมที่ จะทำงานตามที่ได้ถูกโปรแกรมมา แล้วตัวไวรัสจึงค่อยไป เรียกดอสให้ขึ้นมาทำงานต่อไป ทำให้เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น

การแก้ไขไวรัสชนิดนี้ ค่อนข้างง่ายเพียงหาแผ่นดิสก์ที่มีระบบ OS ที่ใช้บูตระบบให้ทำงานได้จากนั้นก็ใช้คำสั่ง SYS.COM เท่านั้น Boot Sector ใหม่ก็จะเขียนทับของเดิมทันที่การใช้งานก็เพียงแค่ใช้คำสั่งดังนี้


บูตระบบด้วยแผ่นดิสก์แล้วใช้คำสั่ง SYS จากแผ่นดิสก์ที่มีไฟล์คำสั่งนี้อยู่
A:\>sys c: (แสดงดังรูป)





2.โปรแกรมไวรัส (Program Viruses หรือ File Intector Viruses)


โปรแกรมไวรัส เป็นไวรัสอีกประเภทหนึ่งที่จะติดอยู่กับโปรแกรม ซึ่งปกติก็คือ ไฟล์ที่มีนามสกุลเป็น COM หรือ EXE และบางไวรัสสามารถเข้า ไปติดอยู่ในโปรแกรมที่มีนามสกุลเป็น sys และโปรแกรมประเภท Overlay Programsได้ด้วย โปรแกรมโอเวอร์เลย์ปกติจะเป็นไฟล์ที่มีนามสกุลที่ขึ้นต้นด้วย OV วิธีการที่ไวรัสใช้เพื่อที่จะ เข้าไปติดโปรแกรมมีอยู่สองวิธี คือ การแทรกตัวเองเข้าไปอยู่ในโปรแกรมผลก็คือหลังจากที่โปรแกรมนั้นติดไวรัสไปแล้ว ขนาดของโปรแกรมจะใหญ่ขึ้น หรืออาจมีการสำเนาตัวเองเข้าไปทับส่วนของโปรแกรมที่มีอยู่เดิมดังนั้นขนาดของโปรแกรมจะไม่เปลี่ยนและยากที่ จะซ่อมให้กลับเป็นดังเดิม
การทำงานของไวรัส โดยทั่วไป คือ เมื่อมีการเรียกโปรแกรมที่ติดไวรัส ส่วนของไวรัสจะทำงานก่อนและจะถือโอกาสนี้ฝังตัวเข้าไปอยู่ในหน่วยความจำทันทีแล้วจึงค่อยให้ โปรแกรมนั้นทำงานตามปกติต่อไป เมื่อไวรัสเข้าไปฝังตัวอยู่ในหน่วยความจำแล้ว หลัง จากนี้ไปถ้ามีการเรียกโปรแกรมอื่น ๆ ขึ้นมาทำงานต่อ ตัวไวรัสก็จะสำเนาตัวเองเข้าไป ในโปรแกรมเหล่านี้ทันที เป็นการแพร่ระบาดต่อไป
วิธีการแพร่ระบาดของโปรแกรม ไวรัสอีกแบบหนึ่งคือ เมื่อมีการเรียกโปรแกรมที่มีไวรัสติดอยู่ ตัวไวรัสจะเข้าไปหาโปรแกรมอื่น ๆ ที่อยู่ในดิสก์เพื่อทำสำเนาตัวเองลงไปทันทีแล้วจึงค่อยให้โปรแกรมที่ถูกเรียก นั้นทำงานตามปกติต่อไป


3.ม้าโทรจัน(Trojan Horse)


ม้าโทรจัน เป็นโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นมาให้ทำตัวเหมือนว่าเป็น โปรแกรมธรรมดาทั่ว ๆ ไป เพื่อหลอกล่อผู้ใช้ให้ทำการเรียกขึ้นมาทำงาน แต่เมื่อ ถูกเรียกขึ้นมาแล้ว ก็จะเริ่มทำลายตามที่โปรแกรมมาทันที ม้าโทรจันบางตัวถูกเขียนขึ้นมาใหม่ทั้ง ชุด โดยคนเขียนจะทำการตั้งชื่อโปรแกรมพร้อมชื่อรุ่นและคำอธิบายการใช้งานที่ดูสมจริง เพื่อหลอกให้คนที่จะเรียกใช้ตายใจ
จุดประสงค์ของคนเขียนม้าโทรจันอาจจะเช่นเดียวกับคนเขียนไวรัส คือ เข้าไปทำ อันตรายต่อข้อมูลที่มีอยู่ในเครื่อง หรืออาจมีจุดประสงค์เพื่อที่จะล้วงเอาความลับของระบบ คอมพิวเตอร์
ม้าโทรจันนี้อาจจะถือว่าไม่ใช่ไวรัส เพราะเป็นโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นมาโดด ๆ และจะไม่มีการเข้าไปติดในโปรแกรมอื่นเพื่อสำเนาตัวเอง แต่จะใช้ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของ ผู้ใช้เป็นตัวแพร่ระบาดซอฟต์แวร์ที่มีม้าโทรจันอยู่ในนั้นและนับว่าเป็นหนึ่งในประเภทของโปรแกรม ที่มีความอันตรายสูง เพราะยากที่จะตรวจสอบและสร้างขึ้นมาได้ง่าย ซึ่งอาจใช้แค่แบตซ์ไฟล์ก็สามารถโปรแกรมประเภทม้าโทรจันได้


4.โพลีมอร์ฟิกไวรัส (Polymorphic Viruses)


โพลีมอร์ฟิกไวรัส เป็นชื่อที่ใช้ในการเรียกไวรัสที่มีความสามารถในการแปรเปลี่ยนตัวเอง ได้เมื่อมีสร้างสำเนาตัวเองเกิดขึ้น ซึ่งอาจได้ถึงหลายร้อยรูปแบบ ผลก็คือ ทำให้ไวรัสเหล่านี้ยากต่อการถูกตรวจจับ โดยโปรแกรมตรวจหาไวรัสที่ใช้วิธีการสแกนอย่างเดียว ไวรัสใหม่ ๆ ในปัจจุบันที่มีความสามารถนี้เริ่มมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ


5.สทีลต์ไวรัส (Stealth Viruses)


สทีลต์ไวรัส เป็นชื่อเรียกไวรัสที่มีความสามารถในการพรางตัวต่อการตรวจจับได้ เช่น ไฟล์อินเฟกเตอร์ ไวรัสประเภทที่ไปติดโปรแกรมใดแล้วจะทำให้ขนาดของ โปรแกรมนั้นใหญ่ขึ้น ถ้าโปรแกรมไวรัสนั้นเป็นแบบสทีลต์ไวรัส จะไม่สามารถตรวจดูขนาดที่แท้จริง ของโปรแกรมที่เพิ่มขึ้นได้ เนื่องจากตัว ไวรัสจะเข้าไปควบคุมดอส เมื่อมีการใช้คำสั่ง DIR หรือโปรแกรมใดก็ตามเพื่อตรวจดูขนาดของโปรแกรม ดอสก็จะแสดงขนาดเหมือนเดิม ทุกอย่างราวกับว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้น


6.ไวรัสมาโคร(Macro virus)


ไวรัสมาโคร(Macro virus)นี้ เป็นไวรัสที่เริ่มเกิดขึ้นครั้งแรกกับ Microsoft Office เช่น Microsoft Word เป็นต้น ไวรัสชนิดนี้ไม่ค่อยจะร้ายแรงเหมือนกับไวรัสที่กล่าวมาข้างต้นเพราะมันจะทำงานเฉพาะกับ Micorsoft Office เท่านั้น
การแก้ไขทำได้โดยการไปนำไฟล์แก้ไขจากทาง Microsoft หรือไม่ก็นำโปรแกรมป้องกันไวรัส มาใช้งานเพราะสามารถแก้ไขไวรัสมาโครได้เช่นกัน

7.พาร์ติชั่น เซกเตอร์ ไวรัส (Partition Sector Virus)

พาร์ติชั่น เซกเตอร์ ไวรัส (Partition Sector Virus)อันนี้อันตรายมากๆครับ ทำลาย Partition และ Boot Sector ใน Harddisk ทั้งลูกเลย ซื้อใหม่อย่างเดียว

8. วอร์ม(Worm)

วอร์ม(Worm)เรียกเป็นภาษาไทยได้ว่า "หนอนอินเตอร์เน็ต" ครับ โดยถ้ามันได้มาอยู่ในเครื่องแล้วมันจะทำให้เครื่องทำงานช้าลงเรื่อยๆที่ล่ะนิด บริโภคทรัพยากร ต่างๆภายในเครื่องมากขึ้นเรื่อยๆ จนระบบการทำงานล้มเหลว และสุดท้ายเครื่องพังจนไม่สามารถใช้การได้ครับ

9.โจ๊ก ไวรัส(Joke Virus)

โจ๊ก ไวรัส(Joke Virus)ไวรัสมาในแนวตลกๆ เช่นอาจจะขึ้นข้อความแปลกๆมาที่หน้าจอ และก็มีปุ่มOK พอไปกดเข้าคราวนี้มันก็เดินเครื่องเล่นงานทันทีเลย อะไรประมาณนี้ บางที่ก็เป็นตัวการ์ตูน ทำท่าตลกๆ วิ่งผ่านไปมาที่หน้าจอนะครับ แต่ความอันตรายอาจทำให้เปลี่ยนจากเสียงหัวเราะ เป็นสายธารแห่งนํ้าตาก็ได้นะ

10.วีบีสคริป(VBScript)

วีบีสคริป(VBScript)เป็นไวรัสที่เขียนขึ้นจากโปรแกรม VB นะครับ เป็นโปรแกรมที่นักศึกษาทั้งในและต่างประเทศนิยมใช้ และใช้ง่ายด้วยครับ ยกตัวอย่างเช่น Love Bug ไงครับ นี้แหละ VBScript เพียวๆเลย

11.จาวาสคริปหรือจาวาแอปเพลท(JavaScript หรือJavaApplet)

จาวาสคริปหรือจาวาแอปเพลท(JavaScript หรือJavaApplet)ไวรัสที่ถูกเขียนขึ้นโดยภาษา"จาวา"ครับ มักมีอยู่ในต่างเว็ปรูปภาพโป๋ ต่างๆที่ไม่ค่อยน่าเชื่อถือของต่างประเทศ (โดยเฉพาะเว็ปภาษาร็ฐเซีย,เยอรมัน) โดยอนุภาพการทำลายนั้น ขึ้นอยู่กับชุดคำสั่งของผู้ที่เขียนสร้างมันขึ้นมาครับ

นอกไวรัสคอมพิวเตอร์ที่กล่าวมาทั้ง 11 ประเภทนี้และปัจจุบันยังมีไวรัสอีกมากมายที่แฝงมากับ Internet โดยทางการ ไฟล์ที่ได้ไปดาวน์โหลดมาจาก Internet หรือไม่ก็มาทาง E-MAIL เป็นต้น


ขั้นตอนการทำงานของไวรัส
หลังจากที่ไวรัสคอมพิวเตอร์สามารถเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้งานได้แล้ว ขั้นแรกไวรัสคอมพิวเตอร์จะต้องหาทางเข้าไปยึดการทำงานบางส่วนของระบบเสียก่อนเพิ่อที่จะได้แพร่ตัวเองไปในไฟล์ต่างๆหรือเข้าไปในส่วนของ บูตเซ็กเตอร์ของฮาร์ดดิสก์หรือแผ่นดิสก์เสียก่อน จากนั้นก็จะรอการแพร่ต่อไป เมื่อใครเรียกไฟล์ที่ติดไวรัสขึ้นมาทำงาน ก็จะถึงเวลาการทำงานของไวรัสทันที และหากเป็นไวรัสในบูตเซ็กเตอร์ก็เริ่มทำงานตั้งแต่เราเริ่มเปิดเครื่องแล้ว ขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมปกติและโปรแกรมมีไวรัสแสดงดังรูป



จากรูปจะเห็นได้ว่าโปรแกรมที่ไม่มีไวรัสคอมพิวเตอร์หรือโปรแกรมปกติเมื่อถูกเรียกมาทำงานก็จะเริ่มส่วนของโปรแกรมทันทีและเมื่อทำงานเสร็จสิ้นแล้วก็จะจบโปรแกรมไป แต่หากเป็นโปรแกรมที่มีส่วนของไวรัสอยู่ด้วยหรือติดไวรัสคอมพิวเตอร์ เมื่อโปรแกรมเริ่มต้นทำงานไวรัสคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในโปรแกรมจะถูกเรียกขึ้นมาทำงานก่อนจนเสร็จหน้าที่ทีไวรัสชนิดนั้นต้องทำจากนั้นก็จะส่งต่อการทำงานให้โปรแกรมจริงๆที่ถูกเรียกทำงานหรือไม่ก็ยกเลิกการทำงานของโปรแกรมนั้นไปเลย

มาทำความรู้จักกับไวรัสคอมพิวเตอร์กันดีกว่า

คำนิยามของ ไวรัสคอมพิวเตอร์(virus computer) คือ โปรแกรมที่มีความสามารถในการพาตัวเองเข้าไปแทรกอยู่ในโปรแกรมทั่วไปที่เป็นเป้าหมายของตนเอง และเพิ่มเติมข้อมูลของตนเองเข้าไปเพื่อจุดประสงค์ของผู้สร้างมันขึ้นมา และพร้อมที่จะแพร่ตัวเองตลอดเวลา

นับตั้งแต่ปลายปี 1991 ทุกคนก็เริ่มรู้จักกับคำว่า ไวรัสคอมพิวเตอร์ เพราะในปีนั้นเองที่มีการระบาดของไวรัสคอมพิวเตอร์ค่อนข้างมาก จนกระทั้งมาถึงปี 1999 จะเข้าสู่ปี 2000 ไวรัสคอมพิวเตอร์ก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะหมดไปจากโลกของคอมพิวเตอร์แต่กับมีจำนวนทวีคูณขึ้นและที่สำคัญได้สร้างความเสียให้กับผู้ใช้งานมากขึ้น เพราะไวรัสมีช่องทางที่จะมาติดที่เครื่องเหล่าได้มากกว่าเก่า โดยเฉพาะทาง Internetปี 2000 นอกจากเราจะต้องตรวจสอบปัญหาคอมพิวเตอร์ อันเนื่องมาจากปี ค.ศ. 2000 หรือปัญหา Y2K แล้วยังจะต้องระวังไวรัสอีกด้วยที่มีข่าวว่าจะมีการแพร่ระบาดในปี 2000 ซึ่งเป็นไวรัสที่จะถูกปล่อยออกมาในช่วงปี ค.ศ. 2000 อาจจะเป็นไวรัสประเภทที่ทำให้ระบบคอมพิวเตอร์มีปัญหาในลักษณะ Y2K ได้แม้เราจะได้ทำการแก้ไขปัญหาดังกล่าวไปแล้ว แต่เมื่อโดนไวรัสชนิดนี้เข้าไป มันก็จะไปทำให้เกิดปัญหา Y2K ได้เมื่อเราไม่ได้ให้ความสนใจกับไวรัส และเมื่อเกิดปัญหาขึ้นมาเราก็อาจจะคิดไปว่าทั้งทีได้แก้ปัญหาไปแล้วแต่ทำไมถึงยังพบปัญหา Y2K อยู่ เพราะฉะนั้นก็ไม่ควรมองข้ามปัญหานี้ไปได้กับไวรัส2000(VirusY2K)

ไวรัสคอมพิวเตอร์มีความสามารถในการสำเนาตัวเองเข้าไปติดอยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ได้และถ้ามีโอกาสก็สามารถแทรกเข้าไประบาดในระบบคอมพิวเตอร์อื่นๆ ซึ่งอาจเกิดจากการนำเอาดิสก์ที่ติดไวรัสจากเครื่องหนึ่งไปใช้อีกเครื่องหนึ่ง หรืออาจผ่านระบบเครือข่ายหรือระบบสื่อสารข้อมูลไวรัสก็อาจแพร่ระบาดได้เช่นกัน

การที่คอมพิวเตอร์ใดติดไวรัส หมายถึงว่า ไวรัสได้เข้าไปผังตัวอยู่ในหน่วยความจำ คอมพิวเตอร์ เรียบร้อยแล้ว เนื่องจากไวรัสก็เป็นแค่โปรแกรม ๆ หนึ่งการที่ไวรัสจะเข้าไปอยู่ ในหน่วยความจำได้นั้นจะต้องมีการถูกเรียกให้ทำงานได้นั้นยังขึ้นอยู่กับประเภทของไวรัส แต่ละตัวปกติผู้ใช้มักจะไม่รู้ตัวว่าได้ทำการปลุกคอมพิวเตอร์ไวรัสขึ้นมาทำงานแล้ว

จุดประสงค์ของการทำงานของไวรัสแต่ละตัวขึ้นอยู่กับตัวผู้เขียนโปรแกรมไวรัสนั้น เช่น อาจสร้างไวรัสให้ไปทำลายโปรแกรมหรือข้อมูลอื่น ๆ ที่อยู่ในเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือ แสดงข้อความวิ่งไปมาบน หน้าจอ เป็นต้น

ไวรัสคอมพิวเตอร์

อย่าสับสน! ระหว่างคำว่า "ไวรัสคอมพิวเตอร์" กับ "ไวรัสที่เป็นเชื้อโรค" คอมพิวเตอร์ไวรัสนั้นเป็นแค่ชื่อเรียกสำหรับโปรแกรมประเภทหนึ่งที่มี พฤติกรรมคล้ายๆ กับไวรัสที่เป็นเชื้อโรคที่สามารถแพร่เชื้อได้ และมักทำอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตที่มันอาศัยอยู่ แต่ต่างกันตรงที่ว่าไวรัสคอมพิวเตอร์เป็นแค่เพียงโปรแกรมที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ระบบคอมพิวเตอร์ของคุณ ไวรัสบางตัวอาจก่อให้เกิดความรำคาญเพียงเล็กน้อย ไวรัสบางตัวอาจทำให้ข้อมูลหรือโปรแกรมการใช้งานเสียหาย หรือถึงขึ้นไม่สามารถใช้งานได้เลยทีเดียว ดังนั้นการศึกษาและทำความรู้จักไวรัส ศึกษาการป้องกัน ย่อมมีส่วนทำให้การใช้งานคอมพิวเตอร์ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น